วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Article.เรื่องสอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น

สรุปบทความ
อ้างอิง: app.eduzones.com


ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูในท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง” และยังไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย





วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน อังคาร/18/08/2558

Lesson 2

**The knowledge gained**

รูปภาพจาก http://www2.manager.co.th/


เด็กปฐมวัยทำไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์

   เพื่อเด็กจะได้รู้จักสิ่งต่างๆรอบตัว มีการคิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบและนำไปใช้และพัฒนาต่อไป
ซึ่งวิทยาศาสตร์มีอยู่มากมายและเด็กแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องพัฒนาทักษะ ให้กับเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้

พัฒนาการทางสติปัญา Cognitive Development
สติปัญญาจึงเกิดการปรับแนวคิดและพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

*ทฤษฏีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์


**skills*

-การระดมความคิด
-การตอบคำถาม
-การคิดวิเคราะห์


**Teaching methods**

 -การสอนแบบบรรยาย
-การใช้คำถาม
-การระดมความคิด
-การคิดวิเคราะห์
-การคิดสังเคราะห์
-การยกตัวอย่าง , การเป็นแบบอย่าง

**Apply**

      เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระที่จะเรียนในคาบต่อไป

**The atmosphere in the classroom**
     
       ภายในห้องเรียนมีบรรยากาศเย็นสบาย ห้องเรียนสะอาด แต่อุปกรณ์ในการสือค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานหรือเรียน

**Self-Assessment**
   
       เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสะอาดเรียบร้อย  มีความพร้อมในการเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน คือ ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ระดมความคิด คิดวิเคราะห์ เป็นต้น

**Rating friends**
   
เพื่อนๆในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลากันเป็นส่วนมาก แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ มีส่วนร่วมในการเรียน เช่น ระดมความคิดในการตอบคำถามร่วมกัน แสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม เป็นตัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น

**Instructor Rating**

       อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและเกิดการคิด โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และยังมีช่วงเวลาหัวเราะ ยิ้มแย้ม กับนักศึกษาอีกด้วย ทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่น่าเบื่อและยังสนใจในการเรียนมากขึ้น



วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน อังคาร/11/08/2558


Lesson 1


**The knowledge gained**
1.วิเคราะห์เกี่ยวรายวิชา
2.แนวทางในการปฏิบัติในห้องเรียน
3.ขอบขายในการใช้เทคโนโลยีในรายวิชา


**skills**
-การระดมความคิดและแสดงความคิดเห็นต่อรายวิชา


**Teaching methods**
-บรรยาย
-คำถาม
-การคิดวิเคราะห์และระดมความคิด


**Apply**
-เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนในรายวิชานี้ต่อไป
-เพื่อสามารถปฏิบัติตนภายในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม
-เพื่อสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีในการสร้าง Blogger ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น



**The atmosphere in the classroom**
       บรรยาศการภายในห้องเย็นสบาย แต่อินเตอร์เน็ตยังใช้งานไม่ได้



**Self-Assessment**
         มาเรียนตรงต่อเวลาและแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความพร้อมในการเรียนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม และระดมความคิด



**Rating friends**
       เพื่อนในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียนและสนุกสนาน



**Instructor Rating**
    อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์ผู้สอนฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และระดมความร่วมกัน เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนแม้จะเป็นการเรียนการสอนในคาบแรกก็ตาม