วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร/27/10/2558

Lesson 10
**The knowledge gained**
กิจกรรม/ Activity:

กิจกรรมที่1 

สอนเรื่องคุณสมบัติของน้ำ

วิธีการ:
1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน ให้แต่ละกลุ่ม 
2.ให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน แล้วตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้ พร้อมกับระบายสีให้สวยงามและพับเก็บกลีบทั้ง4 กลีบ แล้วส่งตัวแทนในกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ตักน้ำใส่ถาดมากลุ่มละ 1 ถาด ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำดอกไม้ของตนเองที่ทำไว้ ลอยลงไปในถาดพร้อมๆกัน จากนั้นสังเกตและบันทึกผล

สังเกตได้ว่า:
 เมื่อวางดอกไม้ลงดอกไม้จะค่อยๆบานออกเรื่อยๆ ซึ่งดอกไม้ของแต่ละคนจะบานช้า-เร็วแตกต่างกันออกไป

กิจกรรมที่2 
สอนเรื่องแรงดันของน้ำ
วิธีการ:
1.ใส่น้ำให้เต็มขวดและปิดรูทั้ง 3 รู
2.เปิดรูตามรูปแลัวสังเกตว่ารูไหนน้ำพุ่งได้ไกลที่สุด
สังเกตได้ว่า:
รูที่น้ำพุ่งได้ไกลที่สุด คือ รูล่างสุด เพราะ มีแรงดันน้ำมากกว่ารูอื่น


กิจกรรมที่3 
เป็นการสอนเรื่อง อากาศ,น้ำและการไหลของน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ
อุปกรณ์:
1.ขวดน้ำ
2.สายยาง
3.ฐานดินน้ำมันต่อกับสายยาง

วิธีการ:
1.เทน้ำใส่ขวดให้เต็มขวด
2.สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
3.นำฐานดินน้ำมันยกต่ำกว่าขวดน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลง

สังเกตได้ว่า:
เมื่อเทน้ำใส่ขวดจนเต็มน้ำจะไหลผ่านสายยางและพุ่งจากฐานดินน้ำมัน และเมื่อยกฐานดินน้ำมันให้อยู่ต่ำกว่าระดับเดิม น้ำยิ่งพุ่งได้แรงและไกลกว่าเดิม

กิจกรรมที่4 ลูกยางกระดาษ
อุปกรณ์:
1.กระดาษ
2.คลิบหนีบกรดาษ

วิธีการ:
1.ตัดกระดาษให้ได้ขนาด ดังรูปที่1และพักครึ่งตามรอยปะ
2.คลี่กระดาษออกและตัดตามรอยปะ ดังรูปที่2
3.พับเก็บด้านบน เมื่อเก็บเสร็จแล้วจะเป็น ดังรูปที่4
4.พับส่วนที่ตัดให้ข้างหนึ่งพับไปด้านซ้าย อีกด้านพับไปด้านขวา ดังรูปที่5 
5.ใช้คลิบหนีบส่วนที่พับเก็บทดลองโดยการ
6.โยนและสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น

สังเกตได้ว่า:
เมื่อนำกระดาษลูกยางโยนขึ้น กระดาษลูกยางจะหล่นลงเป็นเกลี้ยว


กิจกรรม 5ไหมพรมเต้นระบำ
สอนเรื่องลม
อุปกรณ์:
1.หลอดดูดน้ำ
2.ไหมพรม

วิธีการ:
1.นำไหมพรมร้อยใส่ในหลอดดูดน้ำแล้วมัดปม
2.เป่าหลอดด้านใดด้านหนึ่งและสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับไหมพรม

สังเกตได้ว่า:
เมื่อเป่ารมเข้าไปในหลอดไหมพรมจะรอยตัวขึ้นและเคลื่อนที่ ยิ่งเป่าแรงมากเท่าไรไหมพรมก็จะยิ่งรอยตัวและเคลื่อนที่ได้ดี



**skills**
-การระดมความคิดและแสดงความคิดเห็น
-การวิเคราะห์ข้อมูล
-มีการตอบคำถาม
-การจดบันทึก
-การหาข้อมูล
-การสังเกต
-การตั้งสมมติฐาน
-การวิเคราะห์
-การลงมือปฏิบัติ
-การทดลอง

**Teaching methods**
-บรรยาย
-คำถาม
-การคิดวิเคราะห์และระดมความคิด
-การเสริมความรู้
-การเป็นแบบอย่าง ยกตัวอย่าง
-การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-การยกตัวอย่างกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์

**Apply**
-เพื่อนำความรู้จากการทำกิจกรรม ทั้ง5กิจกรรม เป็นกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ในเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

**The atmosphere in the classroom**
       บรรยากาศภายในห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์และสื่อไม่ชำรุด
เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการเรียนในการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น


**Self-Assessment**
         วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ระดมความคิด และ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกในขณะเรียน

**Rating friends**
       เพื่อนในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียน


**Instructor Rating**
         อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์ผู้สอนฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และระดมความร่วมกัน และมีการใช้คำถาม  สังเกต ถามกับนักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้พูดในสิ่งที่เข้าใจออกมาให้อาจารย์และพื่อนๆในห้อง และเมื่อพูดจบอาจารย์จะมีการเสริมความรู้ให้ทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเข้ามากยิ่งขึ้น และบอกข้อบกพร่องของนักศึกษาเพื่อให้ไปปรับปรุงแก้ไข



วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร/20/10/2558

Lesson 10
**The knowledge gained**
กิจกรรม/ Activity:

นำเสนอวิจัย

ปรางชมพู บุญชม นำเสนอเรื่อง : การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรม
      สรุปได้ว่า:วิจัยเรื่องนี้มี เครื่องมือ คือชุดแบบฝึก,แผนการจัดกิจกรรม,แบบประเมิน
วิธีการ...แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
              แบบฝึกเรื่อง ธรรมชาติรอบตัว: การสังเกต เรื่องย่อย: เงา
จุดประสงค์ 
           พัฒนาทักษะ การสังเกต การจำแนก การสื่อสาร และการลงความคิดเห็น
ตัวอย่างแผน
ตัวอย่าง การประเมิน การสังเกต

           
ชนกานต์ แสนสุข นำเสนอเรื่อง: การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
      สรุปได้ว่า: วิจัยเรื่องนี้ได้จัดกิจกรรม มาเล่นสนุกกับน้ำกันเถอะ
วิธีการ...1. ครูเล่านิทาน เล่นริมน้ำ และให้เด็กพลัดกันออกมาเล่าประสบการณ์เดิม
             2.ครูแบ่งกลุ่มเด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพูให้กับทุกๆกลุ่ม กลุ่มละ 1 ขวด เปิดขวดใส่น้ำให้เต็ม
                และตั้งคำถาม เช่น ลักษะของขวดเป็นอย่างไร
             3.ให้เด็กเรียงแถวแล้วบีบขวด หลัดกันจนครบทุกคนภายในกลุ่ม (ในขั้นตอนนี้ สามารถเก็บข้อมูลเชิงสถิติได้โดยการตั้งเกณฑ์ ว่า ระยะของน้ำพุ่งออกไป ใกล้/ไกล)
             4.ครูสนทนากับเด็กกับการบีบขวดใกล้-ไกลและสรุป กิจกรรม

รัตนาภรณ์ บัวเลิง นำเสนอเรื่อง: การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    สรุปได้ว่า: การจัดกิจกรรมเพื่อการคิดวิจารณญาณ ได้แก่ การวิเคราะห์,การใช้เหตุผล,การสังเคราะห์,การประเมินค่า
อย่างแผนกิจกรรม ในดินมีอะไร
ขั้นนำ...
               1.ครูแนะนำกิจกรรมในดินมีอะไร โดยครูใช้คำถามดังนี้
               -รู้จักดินอะไรบ้าง
               -เด็กๆคิดว่าในดินประกอบด้วยอะไรบ้าง (เด็กตอบแล้วทำเป็นแผนผังความคิด map)
               -ดินแต่ละชนิดมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่
ขั้นสอน...
               2.ให้เด็กสังเกตลักษณะของดินด้วยสายตา ดินทรายและดินร่วน
               3.ให้เด็กจับ ดูสี ลักษณะ
               4.เทน้ำใส่ดิน สัมผัสและลองขยำดูว่า ในดินมีอะไรเป็นส่วนประกอบ
               5.เด็กได้ไปนำดินภายในโรงเรียนมาเปรียบเทียบความต่าง
ขั้นสรุป...
              6.ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าดินประกอบด้วยอะไร
ตัวอย่างแบบทดสอบ
การวิเคราะห์
การใช้เหตุผล
การสังเคาะห์
การประเมิน


การทำงานเป็นกลุ่ม ตามหน่วยการเรียนรู้
 หน่วย ร่างกาย
-การวางแผนในการ cooking ขนมโค



**skills**
-การระดมความคิดและแสดงความคิดเห็น
-การวิเคราะห์ข้อมูล
-มีการตอบคำถาม
-การจดบันทึก
-การนำเสนอ
-การวางแผน
-การหาข้อมูล


**Teaching methods**
-บรรยาย
-คำถาม
-การคิดวิเคราะห์และระดมความคิด
-การเสริมความรู้
-การเป็นแบบอย่าง ยกตัวอย่าง
-การนำเสนอหน้าชั้นเรียน


**Apply**
-เพื่อนำความรู้จากการฟังการนำเสนอวิจัย ในเรื่องของแผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศสตร์ไปใช้ในการออกแบบในเขียนแผนกิจกรรม

**The atmosphere in the classroom**
       บรรยากาศภายในห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์และสื่อไม่ชำรุด
เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการเรียนในการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น


**Self-Assessment**
         วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ระดมความคิด และ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกในขณะเรียน

**Rating friends**
       เพื่อนในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียน


**Instructor Rating**


    อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์ผู้สอนฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และระดมความร่วมกัน และมีการใช้คำถาม ถามกับนักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้พูดในสิ่งที่เข้าใจออกมาให้อาจารย์และพื่อนๆในห้อง และเมื่อพูดจบอาจารย์จะมีการเสริมความรู้ให้ทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเข้ามากยิ่งขึ้น และบอกข้อบกพร่องของนักศึกษาเพื่อให้ไปปรับปรุงแก้ไข

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร/13/10/2558

Lesson 9
**The knowledge gained**
กิจกรรม/ Activity:

นำเสนอบทความ

สุทธิกานต์ กางพาพันธ์ นำเสนอเรื่อง:โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
      สรุปได้ว่า:ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมหาคำตอบจากคำถามที่ว่า  "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร"
เช่น กิจกรรม"หวานเย็นชื่อใจ"
     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

เจนจิรา เทียมนิล นำเสนอเรื่อง:สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
      สรุปได้ว่า: การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเเองได้เพราะมีแรง แต่คนเรามองไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแรงแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก และไม่ดูดวัตถุที่ไม่เป็นโลหะ เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว

เสนอนำ ของเล่นประดิษฐ์,ของเล่นตามมุม,การทดลอง ทางวิทยาศาสตร์
จากหน่วยการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย หน่วย ร่างกาย



**skills**
-การระดมความคิดและแสดงความคิดเห็น
-การวิเคราะห์ข้อมูล
-มีการตอบคำถาม
-การจดบันทึก
-การนำเสนอ

**Teaching methods**
-บรรยาย
-คำถาม
-การคิดวิเคราะห์และระดมความคิด
-การเสริมความรู้
-การเป็นแบบอย่าง ยกตัวอย่าง
-การนำเสนอหน้าชั้นเรียน


**Apply**
-เพื่อนำความรู้จากการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปเป็นสื่อการเรียนให้กับเด็กปฐมวัยได้

**The atmosphere in the classroom**
       บรรยากาศภายในห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อากาศเย็นสบาย อุปกรณ์และสื่อไม่ชำรุด
เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการเรียนในการตอบคำถามแสดงความคิดเห็นทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น


**Self-Assessment**
         วันนี้เข้าเรียนสายแต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ระดมความคิด และ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและจดบันทึกในขณะเรียน

**Rating friends**
       เพื่อนในชั้นเรียนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการตอบคำถามและระดมความคิดช่วยกัน ทำให้บรรยากาศภายในห้องน่ารียน


**Instructor Rating**
    อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ อาจารย์ผู้สอนฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และระดมความร่วมกัน และมีการใช้คำถาม ถามกับนักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสได้พูดในสิ่งที่เข้าใจออกมาให้อาจารย์และพื่อนๆในห้อง และเมื่อพูดจบอาจารย์จะมีการเสริมความรู้ให้ทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาเข้ามากยิ่งขึ้น และบอกข้อบกพร่องของนักศึกษาเพื่อให้ไปปรับปรุงแก้ไข

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โทรทัศน์ครู Teachers TV


โทรทัศน์ครูเรื่อง:Preschool Science Experiment
ที่มา: Bright Horizons

Preschool Science Experiment

สรุปได้ว่า
ในห้องเรียนอนุบาลได้ทำการการทดลองวิทยาศาสตร์เด็กๆผสมน้ำ แป้งข้าวโพดและสีผสมอาหาร พวกเขาได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อวัสดุที่แตกต่างกันและสีที่ผสมกัน โดยครูใช้คำถาม
 ว่า "what will happen when we mix cornstarch and water ?"
สิ่งที่จะ เกิดขึ้นเมื่อ เราผสม แป้งข้าวโพด และน้ำ
และเด็กๆแต่ละคนก็ตอบคำถาม และครูเขียนคำตอบเด็กลงบนกระดานให้เด็กๆเห็น
หลังจากนั้นครูให้เด็กทำการทดลอง โดยผสมส่วนต่างๆด้วยตนเองซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะเมื่อเด็กทำไม่ได้
เมื่อผสมส่วนต่างได้แล้ว ครูได้นำมาส่วนผสมที่เด็กได้ทำมาเทในกะบะในและให้เด็กสังเกต

และลงมือสัมผัสส่วนผสมที่ร่วมกันในกะบะ
ครูได้เทแป้งข้าวโพดลงในกะบะ
แล้วสัมผัสดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
และสรุปร่วมกันกับเด็ก











บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร/06/10/2558

Lesson 8
(อ้างอิงข้อมูลจาก น.ส. กมลรัตน์ มาลัย
และ น.ส.ประภัสสร คำบอนพิทักษ์)
**The knowledge gained**
กิจกรรม/ Activity:

นำเสนอโทรทัศน์ครู


(นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น   เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร)

          กระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง
ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
                     โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น
ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ 
โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
                    โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น
ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์ 
                      ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้
ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ
                     โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง


(นางสาววัชรี วงศ์สะอาด เรื่องวัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว  
จากข่าว  Family News Today)

           ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


(นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย)


             บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ โดยในทุกกิจกรรมจะมีคุณครูเป็นผู้ค่อยเสริมประสบการณ์ค่อยถามเด็กอยูู่เป็นระยะเพื่อให้เด็กได้คิด วิเคาระห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, ลอยนํ้าได้อย่างไร
หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, ไหลเเรงไหลค่อย เป็นต้น


การทำงานกลุ่ม
ได้สาระที่ควรรู้คือ ธรรมชาตรอบตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้คือ ร่างกาย






**Self-Assessment**
         วันนี้ขาดเรียน 1 คาบ